Liechtenstein, Principality of

ราชรัฐลิกเตนสไตน์




     สาธารณรัฐลัตเวีย เป็น ๑ ใน ๓ ประเทศในกลุ่มรัฐบอลติก (Baltic States)ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia) สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania) และลัตเวีย เป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของหลายชาติ คือ เยอรมนี สวีเดน โปแลนด์ และรัสเซีย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อรัสเซีย เกิดการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) ค.ศ. ๑๙๑๗ลัตเวีย จึงเห็นเป็นโอกาสเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชได้สำเร็จเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๑๘อย่างไรก็ตาม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหภาพโซเวียตใช้กำลังผนวกลัตเวีย เข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศใน ค.ศ. ๑๙๔๐ และเรียกชื่อใหม่ว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (Latvian Soviet Socialist Republic)แต่เมื่อเยอรมนี ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต เยอรมนี ได้เข้ายึดครองลัตเวีย ใน ค.ศ. ๑๙๔๑ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง สหภาพโซเวียตเข้าปกครองลัตเวีย อีกครั้งหนึ่งจนถึง ค.ศ. ๑๙๙๐ เมื่อประธานาธิบดีมีฮาอิล เซียร์เกเยวิชกอร์บาชอฟ (Mikhail Sergeyevich Gorbachev ค.ศ. ๑๙๘๕-๑๙๙๑) แห่งสหภาพโซเวียตเปิดโอกาสให้ประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นรัฐบริวารของโซเวียต (SovietBloc) ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ลัตเวีย จึงเคลื่อนไหวแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตและได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑
     ลัตเวีย แต่เดิมเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองซึ่งไม่ทราบประวัติความเป็นมา แต่ประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช บรรพบุรุษของพวกฟินน์ (Finns)เข้ามาตั้งรกราก และอีก ๑,๐๐๐ ปีต่อมาชนเผ่าบอลติกเชื้อสายอินโดยูโรเปียนก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานซึ่งแบ่งเป็น ๔ เผ่าใหญ่อาศัยกระจัดกระจายกันใน ๔ ภูมิภาคคือเผ่าคูร์ซี(Kursi) ในภูมิภาคคูร์เซเม (Kurzeme) หรือคูร์ลันด์ (Courland) เผ่าลิฟ(Livs) ในภูมิภาคลัตเกเล (Latgale) เผ่าเซลี(Seli) ในภูมิภาควิดเซเม (Vidzeme)และเผ่าเซมกาลี (Zemgali) ในภูมิภาคเซมกาเล (Zemgale) พวกลิฟได้ติดต่อค้าขายกับพวกตะวันตกและถูกเรียกชื่อว่าลิโวเนีย (Livonians) ซึ่งในเวลาต่อมาดินแดนในภูมิภาคที่พวกลิฟอาศัยและบริเวณใกล้เคียงมีชื่อเรียกว่าลัตเวีย ในค.ศ. ๑๐๕๔ ชนเผ่าเยอรมันที่รอดชีวิตจากเรืออับปางในแม่น้ำเดากาวา (Daugava)ได้มาอาศัยอยู่ในดินแดนของพวกลิฟ และในเวลาอันสั้นก็มีอิทธิพลเหนือชนพื้นเมืองใน ค.ศ. ๑๒๐๑ บิชอปอัลเบรชท์ ฟอน บุกซ์เฮอร์เดิน (Albrecht von Buxhoerden)เป็นผู้นำกลุ่มขุนนางเยอรมัน (Knight of the Sword) จัดตั้งเมืองท่าริกา (Riga) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์เผยแพร่ศาสนา การค้า และการขยายอำนาจทางทหาร ริกาได้พัฒนาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตฮันซา (Hanseatic League)ของกลุ่มพ่อค้าเยอรมันตอนเหนือใน ค.ศ. ๑๒๘๕ ก็กลายเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมทางบอลติกเหนือที่ติดต่อกับยุโรป ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓พวกเยอรมันก็ขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดนลิโวเนีย (Livonia) หรือลัตเวีย ได้ทั้งหมด และใช้กำลังบังคับให้ชาวลัตเวีย หันมานับถือคริสต์ศาสนาตลอดจนจัดตั้งระบบทาสติดที่ดินขึ้นใน ค.ศ. ๑๔๕๘ ชาวลัตเวีย ส่วนใหญ่ยกเว้นพวกที่อาศัยอยู่ในเมืองจึงกลายเป็นทาสติดที่ดิน
     ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔-๑๘ ลัตเวีย ถูกประเทศเพื่อนบ้านคือโปแลนด์ สวีเดน และรัสเซีย ผลัดเปลี่ยนกันเข้ายึดครองและแบ่งแยกดินแดน ในสงครามลิโวเนีย (Livonian Wars ค.ศ. ๑๕๕๘-๑๕๘๓) ซึ่งเป็นสงครามยืดเยื้อระหว่างพวกเยอรมันทิวทอนิกกับรัสเซีย ในรัชสมัยซาร์อีวานที่ ๔ หรืออีวานผู้โหดร้าย (Ivan IVthe Terrible ค.ศ. ๑๕๔๗-๑๕๘๔) ลัตเวีย หันไปพึ่งโปแลนด์ และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตกอยู่ใต้อำนาจของโปแลนด์ แต่เมื่อพระเจ้ากุสตาวุสที่ ๒ อดอลฟุส(Gustavus II Adolphus ค.ศ. ๑๖๑๑-๑๖๓๒) แห่งสวีเดน ก่อสงครามกับโปแลนด์ ในค.ศ. ๑๖๒๑ ลัตเวีย ก็ถูกสวีเดน ยึดครองยกเว้นดินแดนทางตอนใต้ซึ่งยังคงอยู่ใต้การปกครองของโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราช (Peter the Greatค.ศ. ๑๖๘๒-๑๗๒๕) แห่งรัสเซีย พยายามหาเส้นทางออกทะเลทางด้านทะเลบอลติกพระองค์ทรงทำสงครามกับพระเจ้าชาลส์ที่ ๑๒ (Charles XII ค.ศ. ๑๖๙๗-๑๗๑๘)แห่งสวีเดน ในสงครามทะเลเหนืออันยิ่งใหญ่ (Great Northern War ค.ศ. ๑๗๐๐-๑๗๒๑) สงครามสิ้นสุดด้วยความปราชัยของสวีเดน ซึ่งต้องยอมลงนามในสนธิสัญญานูสตัด (Treaty of Nystad) ใน ค.ศ. ๑๗๒๑ โดยสวีเดน ต้องยกลัตเวีย เอสโตเนีย และอินเกรีย (Ingria) ให้แก่รัสเซีย ซาร์ปีเตอร์มหาราชจึงทรงได้“หน้าต่าง”ออกทะเลสมพระทัยและทรงโปรดให้สร้างเมืองหลวงใหม่บนฝั่งแม่น้ำนีวา(Neva) ในเขตอินเกรียคือกรุงเซนต์ปีเตอร์สเปิร์ก (St. Petersburg)
     ในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ซารินาแคเทอรีนที่ ๒ หรือแคเทอรีนมหาราช (Catherine the Great ค.ศ. ๑๗๖๒-๑๗๙๖) แห่งรัสเซีย ทรงสานนโยบายด้านต่างประเทศตามแนวทางของซาร์ปีเตอร์ด้วยการขยายพรมแดนไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้เข้าไปในดินแดนของโปแลนด์ และจักรวรรดิออตโตมัน(Ottoman Empire) หรือตุรกี พระนางทรงร่วมมือกับปรัสเซีย และออสเตรีย ในการแบ่งแยกดินแดนของโปแลนด์ โปแลนด์ จึงถูกแบ่งดินแดนถึง ๓ ครั้ง คือ ในค.ศ. ๑๗๗๒, ค.ศ. ๑๗๙๓ และ ค.ศ. ๑๗๙๕ จนอาณาจักรโปแลนด์ ถูกลบหายไปจากแผนที่ของยุโรปไปช่วงเวลาหนึ่ง ในการแบ่งโปแลนด์ ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๓ รัสเซีย ได้ดินแดนทางตะวันออกของลัตเวีย ที่เรียกว่าลัตกาเล และต่อมาได้ดินแดนลัตเวีย ทางตะวันตกที่เป็นของโปแลนด์ หรือดัชชีแห่งคูร์ลันด์ (Duchy of Courland)ตามลำดับ ลัตเวีย ในท้ายที่สุดจึงกลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย
     ภายหลังการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna ค.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๑๕) ซึ่งเป็นการจัดระเบียบและแบ่งเขตแดนของนานาประเทศในยุโรปหลังการแพ้ของฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕)ซาร์อะเล็กซานเดอร์ที่ ๑ (Alexander I ค.ศ. ๑๘๐๑-๑๘๒๕) แห่งรัสเซีย โปรดให้ยกเลิกระบบทาสติดที่ดินในลัตเวีย แต่ชาวนาไม่มีสิทธิครอบครองหรือซื้อที่ดินและห้ามโยกย้ายออกจากที่ดิน ชาวนาลัตเวีย จำนวนไม่น้อยจึงหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายรัสเซีย ออร์ทอดอกซ์โดยหวังจะได้รับสิทธิทางสังคมที่ดีขึ้น ซาร์ยังพยายามใช้นโยบายเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย (Russification)อย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยเฉพาะด้านการปกครอง การศาล และการศึกษา ต่อมาในรัชสมัยซาร์อะเล็ก-ซานเดอร์ที่ ๒ (Alexander II ค.ศ. ๑๘๕๕-๑๘๘๑) ซึ่งเป็นสมัยของการปฏิรูปประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมและทันสมัยเท่าเทียมประเทศตะวันตก ชาวนาลัตเวีย ได้รับสิทธิให้ซื้อและครอบครองที่ดินรวมทั้งเคลื่อนย้ายออกจากที่ดินได้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเริ่มเกิดขึ้นโดยมีการอพยพเข้าไปอาศัยในเมืองมากขึ้นและลูกหลานชาวนาที่มีฐานะมีโอกาสได้รับการศึกษาและทำงานในราชการตลอดจนเลื่อนฐานะทางสังคมให้สูงขึ้นด้วยการแต่งงานกับชาวบอลติกเชื้อสายเยอรมันในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ปัญญาชนลัตเวีย จำนวนหนึ่งที่ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งดอร์พัต (University of Dorpat) ซึ่งอยู่ในเอสโตเนีย และเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในรัฐบอลติกได้รวมตัวกันเป็นขบวนการโดยเรียกชื่อว่า “ลัตเวีย หนุ่ม”(Young Latvians) ขบวนการดังกล่าวได้อิทธิพลทางความคิดจากขบวนการอิตาลี หนุ่ม(Young Italy) ของจูเซปเป มัซซีนี (Giussppe Mazzini) ชาวอิตาลี ผู้รักชาติที่มีบทบาทสำคัญในการรวมชาติอิตาลี ขบวนการลัตเวีย หนุ่มเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกความรักชาติและความภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านในกลุ่มชาวลัตเวีย ที่มีการศึกษาและมีฐานะ
     การเคลื่อนไหวของขบวนการลัตเวีย หนุ่มได้นำไปสู่การจัดตั้งสมาคมลัตเวีย แห่งริกา (Latvian Association of Riga) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๖๘ โดยมีวัตถุประสงค์จะส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นทั่วรัฐบอลติก ใน ค.ศ. ๑๘๗๓ สมาคมลัตเวีย แห่งริกาได้จัดงานเทศกาลดนตรีลัตเวีย (Latvian Song Festival) ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแสดงพลังทางวัฒนธรรมซึ่งประสบความสำเร็จไม่น้อยเพราะทำให้เกิดความตื่นตัวและสนใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเพณีของชาติมากขึ้น ขบวนการลัตเวีย หนุ่มยอมรับอำนาจการปกครองของซาร์แห่งรัสเซีย และไม่ต้องการก่อการปฏิวัติทางสังคมและการเมือง พวกเขาสนใจเพียงการเคลื่อนไหวปลุกจิตสำนึกประชาชนและใช้หนังสือพิมพ์ Petersburg Newspaper เป็นสื่อถ่ายทอดความคิดเห็นและแนวนโยบาย
     อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยซาร์นิโคลัสที่ ๒ (Nicholas II ค.ศ. ๑๘๙๔-๑๙๑๗)พระองค์ทรงดำเนินนโยบายเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย อย่างเข้มงวดและลงโทษผู้ที่ต่อต้านอย่างรุนแรงทั้งในรัฐบอลติกทั้ง ๓ แห่งรวมทั้งในฟินแลนด์ ด้วยปัญญาชนลัตเวีย หัวรุนแรงที่เป็นสมาชิกขบวนการลัตเวีย หนุ่มจึงเริ่มเคลื่อนไหวในหมู่กรรมกรโรงงานและชาวนาที่ไม่มีที่ดินเพื่อเรียกร้องการปฏิรูปทางการเมือง และรณรงค์ให้สมาคมลัตเวีย แห่งริกาหันมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามประชาชาติลัตเวีย ใน ค.ศ. ๑๘๙๗ มีการชุมนุมและการก่อจลาจลของกรรมกรอย่างต่อเนื่องรัฐบาลรัสเซีย จึงปราบปรามอย่างรุนแรง และจับกุมสมาชิกลัตเวีย หนุ่มหัวรุนแรงกว่า๘๗ คนทั้งสั่งปิดหนังสือพิมพ์รายวัน The New Current ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของกลุ่มลง ปัญญาชนที่หนีรอดจากการกวาดล้างจึงรวมตัวกันเคลื่อนไหวใต้ดินโดยก่อตั้งเป็นองค์กรที่มีชื่อว่ากลุ่มสังคมประชาธิปไตยขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๙๙ ต่อมาก็ยอมรับแนวความคิดลัทธิมารกซ์ (Marxism) และแนวทางเคลื่อนไหวปฏิวัติตามแบบพรรคบอลเชวิค (Bolsheviks) ของรัสเซีย ที่มีวลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Leninค.ศ. ๑๘๗๐-๑๙๒๔) เป็นผู้นำ ใน ค.ศ. ๑๙๐๔ กลุ่มสังคมประชาธิปไตยได้ร่วมกับปัญญาชนลัทธิมาร์กซ์จัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกขึ้นโดยใช้ชื่อว่าพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยลัตเวีย (Latvian Social Democratic Labour Party - LSDLP) ขึ้นซึ่งต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๐๓ กลุ่มสายกลางที่มีแนวความคิดชาตินิยมและต้องการสิทธิในการปกครองตนเองได้แยกตัวออกมาจัดตั้งพรรคที่เรียกว่าสหภาพสังคมประชาธิปไตยลัตเวีย (Latvian Social Democratic Union - LSDU) ขึ้น เมื่อมีการจัดประชุมใหญ่ครั้งที่ ๔ ของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (RussianSocial Democratic Labour Party - RSDLP) ขึ้นที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm)สวีเดน ใน ค.ศ. ๑๙๐๖ ผู้แทนของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยลัตเวีย ได้ขอเข้ารวมกับพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย โดยมีสถานภาพเป็นองค์การพรรคสาขาอิสระที่ปกครองตนเองในส่วนภูมิภาคมีชื่อว่าพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งภูมิภาคลัตเวีย (Social Democracy of the Latvia Region - SDLK)พรรคดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่แนวความคิดสังคมนิยมและสนับสนุนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของบอลเชวิคในแถบบอลติกและฟินแลนด์
     ความพ่ายแพ้ของรัสเซีย ในสงครามรัสเซีย -ญี่ปุ่น (Russo-Japanese Warค.ศ. ๑๙๐๔-๑๙๐๕) และเหตุการณ์วันอาทิตย์นองเลือด (Bloody Sunday) ในต้นเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๐๕ ที่นำไปสู่การปฏิวัติ ค.ศ. ๑๙๐๕ (Revolution of 1905)ใน เดือนตุลาคมเปิ ดโอกาสให้ลัตเวีย เคลี่อนไหวเรียกร้องสิทธิการปกครองตนเองรัสเซีย ส่งกองทัพมาปราบปรามและการปะทะกันอย่างนองเลือดได้ทำให้การต่อต้านรัสเซีย ขยายตัว มีการจัดตั้งสภาคนงานขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ซาร์นิโคลัสที่ ๒ ทรงพยายาม แก้ไขสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในจักรวรรดิรัสเซีย และดินแดนใต้การปกครองด้วยการประกาศ “คำแถลงนโยบายเดือนตุลาคม”(October Manifesto) เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๐๕ ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออกทางความคิดเห็นและการชุมนุม ตลอดจนการจัดตั้งสภาดูมา (Duma) ขึ้นเพื่อปฏิรูปการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย แต่เมื่อทรงควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองไว้ได้ก็ดำเนินการปราบปรามการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั่วจักรวรรดิอย่างเด็ดขาดอย่างไรก็ตาม ในช่วงสมัยการปกครองของสภาดูมาระหว่าง ค.ศ. ๑๙๐๖-๑๙๑๗ ลัตเวีย ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในสภาดูมา และรัสเซีย ผ่อนคลายนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบรัสเซีย ทั้งยอมให้มีการใช้ภาษาลัตเวีย ในงานเขียนและการติดต่อสื่อสารทั่วไป
     เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้น ผู้แทนลัตเวีย ในสภาดูมาประกาศสนับสนุนนโยบายสงครามของรัสเซีย แต่ความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องของรัสเซีย ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. ๑๙๑๕ ทำให้กองทัพเยอรมันรุกคืบหน้า และเข้ายึดครองคูร์เซเม และเซมกาเลทางภาคตะวันตกของลัตเวีย ได้ ชาวลัตเวีย ต้องอพยพหนีเข้าไปในรัสเซีย และรัฐบาลรัสเซีย สนับสนุนให้ผู้ีล้ภัยเหล่านี้ไปตั้งรกรากในแถบตะวันออกไกลและคอเคซัส (Caucasus) ขณะเดียวกันรัฐบาลรัสเซีย ก็โยกย้ายโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลต่าง ๆ ในกรุงริกาและเมืองต่าง ๆ ของลัตเวีย มาไว้ที่รัสเซีย ตอนกลาง รัสเซีย ยังจัดตั้งสมาคมผู้อพยพลัตเวีย (Latvian RefugeeAssociations) และกรมทหารปืนไรเฟิลลัตเวีย (Latvian Rifles Regiment) ขึ้นเพื่อต่อต้านเยอรมนี องค์การทั้ง ๒ แห่งในเวลาอันสั้นกลายเป็นความหวังของชาวลัตเวีย ชาตินิยม เพราะการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของสมาคมผู้อพยพลัตเวีย ทำให้สมาคมมีบทบาทเป็นที่ยอมรับของผู้อพยพและกลายเป็นศูนย์กลางการบริหารปกครองในการจะจัดตั้งรัฐลัตเวีย ขึ้นในอนาคต ส่วนกรมทหารปืนไรเฟิ ลลัตเวีย คือศูนย์กลางของกองทัพลัตเวีย ปัญญาชนชาตินิยมจึงเริ่มเคลื่อนไหวเพื่ออำนาจการปกครองตนเองภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ความพ่ายแพ้ของกองทัพรัสเซีย ยังทำให้ทหารลัตเวีย ในกรมทหารปืนไรเฟิ ลลัตเวีย ที่มีนายทหารรัสเซีย เป็นผู้บังคับบัญชาไม่ต้องการสละชีวิตเพื่อรัสเซีย อีกต่อไป ทหารลัตเวีย จึงหันมาร่วมมือกับพรรคสังคมประชาธิปไตยลัตเวีย ที่สนับสนุนพรรคบอลเชวิคให้ยึดอำนาจทางการเมือง
     หลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (February Revolution) ค.ศ. ๑๙๑๗รัสเซีย มีการปกครองแบบทวิอำนาจ (dual power) ระหว่างรัฐบาลเฉพาะกาลกับสภาโซเวียต รัฐบาลเฉพาะกาลได้แต่งตั้งผู้แทนลัตเวีย ไปกรุงริกาเพื่อควบคุมดู แลการบริหารปกครองลัตเวีย แต่ประสบความล้มเหลวเพราะพรรคสังคมประชาธิปไตยลัตเวีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทหารลัตเวีย ยึดอำนาจทางการเมืองได้ก่อนและจัดตั้งสภาโซเวียตริกา (Riga Soviets) ขึ้นเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลปกครอง ขณะเดียวกันตามเมืองต่าง ๆ ก็มีการจัดตั้งสภาโซเวียตขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม อำนาจการปกครองของสภาโซเวียตริกาก็ดำรงอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้นเพราะในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ กองทัพเยอรมนี ได้บุกยึดครองกรุงริกาและพื้นที่ส่วนอื่น ๆได้ทั้งหมด
     ในต้น ค.ศ. ๑๙๑๘ รัฐบาลบอลเชวิคซึ่งยึดอำนาจทางการเมืองในรัสเซีย ได้สำเร็จในการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ เปิดการเจรจากับเยอรมนี เพื่อทำสนธิสัญญาสันติภาพ รัสเซีย ถอนตัวออกจากสงครามได้สำเร็จด้วยการยอมลงนามในสนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์ (Brest-Litovsk) กับประเทศมหาอำนาจกลาง (CentralPowers) ประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย -ฮังการี บัลแกเรีย และตุรกีเมื่อวันที่ ๓มีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาฉบับนี้ รัสเซีย ต้องสละสิทธิการปกครองในโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย และต้องยกดินแดนบางส่วนในทรานส์คอเคเซีย (Transcaucasia) ให้แก่ตุรกีเยอรมนี มีแผนจะจัดตั้งแกรนด์ดัชชีบอลติก (Baltic Grand Duchy) ขึ้นโดยไกเซอร์ิวลเลียมที่ ๒(William II ค.ศ. ๑๘๘๘-๑๙๑๘) เป็นประมุข แต่แผนดังกล่าวล้มเหลวเพราะเยอรมนี ปราชัยในสงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ลงนามในสัญญาการสงบศึก (Armistice) ที่เมืองกงเปียญ (Compiègne) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงปารีสไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เมื่อวันที่ ๑๑พฤศจิกายนค.ศ. ๑๙๑๘ อีก ๔ วันต่อมารัฐบาลโซเวียตก็ประกาศให้สนธิสัญญาเบรสต์-ลิตอฟสค์เป็นโมฆะ กลุ่มลัตเวีย ชาตินิยมและพรรคการเมืองต่าง ๆ จึงเห็นเป็นโอกาสจัดตั้งสภาแห่งชาติลัตเวีย (Latvian National Council) ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนขององค์การและพรรคการเมืองต่าง ๆ สภาแห่งชาติลัตเวีย จึงประกาศความเป็นเอกราชของลัตเวีย เมื่อวันที่ ๑๘พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๘ โดยมีคาร์ลิสอุลมานิส(Karlis Ulmanis) ผู้นำพรรคสหภาพชาวนา (Farmersû Union) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ
     ในช่วงเวลาที่เยอรมนี เริ่มถอนกำลังออกจากการยึดครองลัตเวีย นั้น รัฐบาลโซเวียตได้ส่งกองทัพแดง (Red Army) เข้าสู่กรุงริกาเพื่อยึดครองและนำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพแดงที่กลุ่มลัตเวีย บอลเชวิคให้การสนับสนุนกับกองทัพเยอรมันและกองทัพแห่งชาติลัตเวีย (Latvian National Army) ในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๑๙ กองทัพแดงยึดครองลัตเวีย ได้และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโซเวียต ลัตเวีย (Soviet Republic of Latvia) ขึ้นอุลมานิสและคณะรัฐบาลหนีภัยโดยอาศัยเรือรบอังกฤษไปจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลที่เมืองท่าเลียปายา(Liepaja) และรวบรวมกำลัง เพื่อโค่นอำนาจกลุ่มโซเวียตลัตเวีย ในกลาง ค.ศ. ๑๙๑๙รัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งได้รับการสนับสนุนกำลังอาวุธจากอังกฤษและฝรั่งเศส ก็สามารถขับไล่ทั้งฝ่ายเยอรมันและฝ่ายโซเวียตออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของลัตเวีย และเคลื่อนกำลังมุ่งสู่กรุงริกาจนมีชัยชนะ รัฐบาลโซเวียตลัตเวีย สิ้นสุดอำนาจลงเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๒๐ รัฐบาลเฉพาะกาลได้ดำเนินการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อปกครองประเทศ ต่อมามีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างลัตเวีย กับเยอรมนี เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๐ และสหภาพโซเวียตกับลัตเวีย เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๒๐ โดยสหภาพโซเวียตยอมล้มเลิกสิทธิต่าง ๆ ในลัตเวีย ในปีต่อมาสภาสัมพันธมิตรสูงสุด (Supreme Allied Council) ที่กรุงปารีสก็ประกาศรับรองสถานภาพของสาธารณรัฐลัตเวีย โดยนิตินัยเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคมค.ศ. ๑๙๒๑ และประเทศอื่น ๆ ก็ทยอยรับรองตามลำดับ ในปลายปี เดียวกันนั้นลัตเวีย ก็ได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติ(League of Nations)เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ค.ศ. ๑๙๒๑
     ลัตเวีย ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๒๒โดยปกครองในระบอบสาธารณรัฐระบบสภาเดียว (unicameral system) สมาชิกรัฐสภามีจำนวน ๑๐๐ คน ซึ่งเลือกตั้งทุก ๔ ปี ภาษาลัตเวีย เป็นภาษาราชการ และรัฐธรรมนูญให้สิทธิชนชาติส่วนน้อยในประเทศคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตนเอง ยานิสชาคสเต (Janis Cakste) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ (ค.ศ. ๑๙๒๒-๑๙๒๗)หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปที่ดินและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่บอบช้ำของประเทศทั้งเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้นใหม่ เนื่องจากสหภาพโซเวียตไม่ยอมส่งเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมที่ได้โยกย้ายไปไว้ในรัสเซีย กลับคืน ระหว่าง ค.ศ.๑๙๒๒-๑๙๒๔ ลัตเวีย มีรัฐบาลผสมบริหารประเทศ ๑๔ ชุด และการมีพรรคการเมืองจำนวนมากก็ทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตำคร่ ั้งใหญ่(Great Depression) ระหว่าง ค.ศ ๑๙๒๙-๑๙๓๒ กลุ่มการเมืองฝ่ายขวาก็โจมตีรัฐบาลและชาวเยอรมันเชื้อสายบอลติกก็สนับสนุนลัทธินาซีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์(Adolf Hitler ค.ศ. ๑๘๘๙-๑๙๔๕) ในต้น ค.ศ. ๑๙๓๔อุลมานิสซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๑๘ เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายเลือกตั้งแต่พรรคการเมืองอื่น ๆ ต่อต้านเพราะเกรงว่าพรรคสหภาพชาวนาของอุลมานิสจะกุมเสียงข้างมากในสภา เมื่ออุลมานิสสั่งยุบสาขาของพรรคภราดรภาพบอลติก(Baltic Brotherhood) ซึ่งเคลื่อนไหวให้รวมรัฐบอลติกเข้ากับจักรวรรดิไรค์ (Reich)ของเยอรมนี พรรคการเมืองฝ่ายขวาอื่น ๆ โดยเฉพาะพรรคฟาสซิสต์ลัตเวีย ที่มีชื่อเรียกว่า ทันเดอร์ครอสส์ (Thundercross) ก็เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและโฆษณาปลุกระดมประชาชนให้สนับสนุนแนวความคิดลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)จนรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงประกาศภาวะฉุกเฉิน และยุบสภารวมทั้งพรรคการเมืองทั้งหมดโดยปกครองประเทศแบบอำนาจนิยม (authoritarianism) นักการเมืองกว่า ๓๐๐ คนถูกจับคุมขังเป็นเวลา ๒ ปี ๖ เดือน และส่วนที่รอดพ้นจากการถูกจับก็อยู่ใต้การสอดส่องของตำรวจ ระบอบประชาธิปไตยในลัตเวีย จึงสิ้นสุดลง
     ใน ค.ศ. ๑๙๓๙ เมื่อเยอรมนี เตรียมก่อสงครามและหาทางหลีกเลี่ยงการเปิดแนวรบสองด้านด้วยการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียต(Nazi-Soviet Non-agression Pact) หรือที่เรียกกันว่ากติการิบเบนทรอพ-โมโลตอฟ(Ribbentrop-Molotov Pact) เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ เคานต์โยอาคิมฟอน ริบเบนทรอพ (Joachim von Ribbentrop) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมันได้จัดทำพิธีสารลับเพิ่มเติม (Secret SupplementaryProtocol) กับโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin ค.ศ. ๑๘๗๙-๑๙๕๓) โดยให้สหภาพโซเวียตครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของโปแลนด์ ตะวันออก ฟินแลนด์ ลัตเวีย เอสโตเนีย และลิทัวเนีย และเยอรมนี จะยึดครองดินแดนโปแลนด์ ที่เหลือทั้งหมดการคุกคามทางทหารของสหภาพโซเวียตตามความตกลงลับดังกล่าวทำให้ลัตเวีย ถูกบีบให้ลงนามในสนธิสัญญาความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Treaty of MutualAssistance) กับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ โดยยอมให้สหภาพโซเวียตสร้างฐานทัพทางทหารในประเทศ สหภาพโซเวียตได้ส่งทหารกว่า ๓๐,๐๐๐คนเข้ามาประจำการในลัตเวีย อำนาจทางทหารของโซเวียตยังเปิดโอกาสให้พรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย มีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองมากขึ้น ในเดือนมิถุนายนค.ศ. ๑๙๔๐ สหภาพโซเวียตสร้างสถานการณ์เพื่อเข้ายึดครองลัตเวีย ด้วยการใช้เหตุการณ์ปะทะกันที่ด่านตรวจข้ามพรมแดนใกล้เมืองมาสเลนกี (Maslenki) ส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบ ชาวลัตเวีย ถูกสังหาร ๕ คนและอีก ๓๗ คนถูกจับรัฐบาลโซเวียตยื่นคำขาดให้มีการจัดตั้งรัฐบาลลัตเวีย ชุดใหม่ และให้กองทัพโซเวียตเข้ามารักษาความสงบในลัตเวีย รัฐบาลลัตเวีย ซึ่งต้องการหลีกเลี่ยงการนองเลือดยอมรับคำขาดของสหภาพโซเวียตและสั่งให้กองทหารลัตเวีย ยอมจำนน สหภาพโซเวียตจึงเข้ายึดครองลัตเวีย ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ และต่อมาก็ประกาศผนวกลัตเวีย เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคมค.ศ. ๑๙๔๐ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กองทัพโซเวียตก็เข้ายึดครองเอสโตเนีย ลิทัวเนีย และฟินแลนด์ ตามลำดับ
     อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับการผนวก ๓ รัฐบอลติกของสหภาพโซเวียต ซัมเนอร์เวลส์ (Sumner Welles) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้ออกประกาศที่เรียกว่า คำประกาศซัมเนอร์ (Sumnerûs Declaration) เมื่อวันที่ ๒๓กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๐ ว่าการผนวกรัฐบอลติกเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมตามกฎหมายและสหรัฐอเมริกายังคงยอมรับโดยนิตินัย (de jure recognition) สถานภาพการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐลัตเวีย ประเทศตะวันตกอื่น ๆ ก็ออกประกาศเช่นเดียวกันดังนั้น สาธารณรัฐลัตเวีย ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๙๑ จึงยังคงความเป็นรัฐอธิปไตยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และมีผู้แทนทางการทูตและกงสุลปฏิบัติงานบางด้านที่เกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐลัตเวีย อยู่ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ตลอดระยะเวลา ๔๑ ปีดังกล่าว
     รัฐบาลลัตเวีย ชุดใหม่ที่สหภาพโซเวียตสนับสนุนได้นำระบอบการปกครองแบบโซเวียตมาประยุกต์ใช้และเริ่มเข้าควบคุมทางสังคมอย่างเข้มงวด ในกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๐ รัฐสภาลัตเวีย หรือซาเอย์มา (Saeima) ก็ดำเนินการเลือกตั้งทั่วไปโดยผู้แทนสภาที่ได้รับการเลือกตั้งล้วนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หรือที่สนับสนุนแนวนโยบายคอมมิวนิสต์ ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะถูกจับกุมและกลั่นแกล้งไม่ให้มีโอกาสได้รับเลือกตั้ง ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม รัฐสภาที่เรียกกันต่อมาว่ารัฐสภาปลอมก็เปิดประชุมสมัยแรกและมีมติให้ลัตเวีย เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียตซึ่งในทางปฏิบัติเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ สหภาพโซเวียตก็รับลัตเวีย เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๐ สหภาพโซเวียตได้ใช้นโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียต (Sovietization) ปกครองลัตเวีย และภายในเวลาเพียง ๑ เดือน ธุรกิจอุตสาหกรรมใหญ่ ๘๐๐ แห่งก็ถูกโอนเป็นของรัฐและกิจการธนาคารของประเทศถูกรวมเข้ากับธนาคารชาติโซเวียต (Soviet StateBank) ทั้งเงินออมของประชาชนที่มากกว่า ๑,๐๐๐ รูเบิลจะถูกยึดเป็นของรัฐ มีการปฏิรูปการศึกษาโดยปลดครูอาจารย์ชาวลัตเวีย ที่เก่งทางด้านวิชาการต่าง ๆ ออกและบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติทางวิชาการตำเข่ ้าสอนแทน ภาษารัสเซีย เป็นภาษาบังคับที่ทุกโรงเรียนและสถาบันต้องเปิดสอนอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๔ ชั่วโมง ขณะเดียวกันมีการจำหน่ายหนังสือกว่า ๔,๐๐๐ชื่อเรื่องที่มีเนื้อหาต้องห้ามออกจากห้องสมุดทั่วประเทศ และนักเขียนที่ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศจะถูกจับกุมกวาดล้าง ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๑ มีการจับกุมประชาชนด้วยข้อหาเป็นอาชญากรทางการเมืองทุกเดือนรวมกว่า ๗,๒๙๒ คน และ ๑,๕๐๐ คนถูกตัดสินประหาร ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๑พลเมืองลัตเวีย กว่า ๑๔,๐๐๐ คนถูกเนรเทศไปไซบีเรีย หรือส่งไปค่ายกักกันแรงงาน (Collective Labour Camp)
     เมื่อเยอรมนี บุกโจมตีสหภาพโซเวียตโดยใช้ยุทธวิธีสงครามสายฟ้าแลบ(Blitzkrieg) ในปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๑ เยอรมนี ได้เข้ายึดครองลัตเวีย ด้วยซึ่งประชาชนจำนวนไม่น้อยให้การสนับสนุนเยอรมนี เพราะถือว่าเป็นผู้ช่วยปลดปล่อยจากอำนาจโซเวียต เยอรมนี ได้สร้างเขตกักบริเวณชาวยิว (ghetto) นอกกรุงริกาและค่ายกักกัน (Concentration Camp) ตามพรมแดน ประมาณว่าชาวลัตเวีย จำนวน ๒,๕๐๐ คนร่วมมือสนับสนุนเยอรมนี ในการกำจัดพลเมืองลัตเวีย เชื้อสายยิวและกลุ่มบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ก็มีพลเมืองลัตเวีย จำนวนไม่น้อยอาสาสมัครเข้าประจำการในกองทัพนาซี อย่างไรก็ตามชาวลัตเวีย ที่รักชาติีอกมากก็เคลื่อนไหวใต้ดินต่อต้านนาซีและประสานงานกับฝ่ายพันธมิตรเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการยึดครอง ในช่วงที่เยอรมนี ปกครองลัตเวีย นั้นเยอรมนี ได้บีบเค้นทรัพยากรทั้งวัตถุดิบและกำลังคนเพื่อสนับสนุนนโยบายสงครามและกวาดต้อนพลเมืองลัตเวีย กว่า ๓๕,๐๐๐ คนไปเป็นแรงงานที่เยอรมนี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง ลัตเวีย จึงเป็นประเทศที่อยู่ในความหายนะ เพราะบ้านเมืองเสียหายอย่างยับเยินจากการทำสงครามระหว่างนาซีกับขบวนการใต้ดินและการปะทะกันระหว่างเยอรมนี กับสหภาพโซเวียตและฝ่ายพันธมิตร เขตชนบทเต็มไปด้วยลวดหนามและกับระเบิด ประมาณว่าจำนวนพลเมืองลดน้อยลงมากกว่าร้อยละ ๓๐ ของช่วงก่อนสงคราม และอัตราการสูญหายของพลเมืองลัตเวีย เชื้อสายยิวก็สูงที่สุดในยุโรปด้วย
     สหภาพโซเวียตซึ่งกลับมาปกครองลัตเวีย อีกครั้งหนึ่งในช่วงหลังสงครามได้ใช้นโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียตอย่างเข้มงวด และเรียกชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย ขณะเดียวกันก็ดำเนินนโยบายปรับระบบเศรษฐกิจลัตเวีย เป็นอุตสาหกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของโซเวียต ชาวนาถูกบังคับให้เข้าร่วมโครงการนารวมแต่ได้รับการต่อต้าน รัฐบาลจึงเนรเทศชาวนาที่ถูกกล่าวหาเป็นพวกชาวนารวยกว่า ๔๓,๐๐๐ คนไปไซบีเรียการเนรเทศมีส่วนทำให้ร้อยละ ๙๘ ของชาวนาใน ค.ศ. ๑๙๕๒ เข้าร่วมนารวม ระหว่างค.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๕๕ สหภาพโซเวียตสนับสนุนแรงงานชาวโซเวียตกว่า ๕๓๕,๐๐๐ คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในลัตเวีย และใน ค.ศ. ๑๙๔๖ มีชาวโซเวียต ๔๑,๐๐๐ คน มาจัดตั้งเขตชุมชนอุตสาหกรรมทั่วกรุงริกา รวมทั้งมีสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จำนวน๙,๐๐๐ คน ถูกส่งมาบริหารปกครององค์กรพรรคระดับต่างๆ ในลัตเวีย การต่อต้านนโยบายของโซเวียตจะถูกลงโทษอย่างหนัก ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๕-๑๙๕๓ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการกวาดล้างครั้งสุดท้ายในสหภาพโซเวียตที่มีสตาลินเป็นผู้นำ ในลัตเวีย ช่วงเวลาเดียวกันก็มีการจับกุมและเนรเทศชาวลัตเวีย ที่ต่อต้านโซเวียตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รัฐบาลห้ามจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมของลัตเวีย บังคับให้เรียนภาษาและวัฒนธรรมโซเวียต รวมทั้งมีการเปลี่ยนชื่อเมือง ถนน จตุรัสและสถานที่สำคัญ ๆ ให้เป็นชื่อนักปฏิวัติหรือวีรบุรุษของโซเวียต ตลอดจนให้เขียนประวัติศาสตร์ลัตเวีย ใหม่โดยชี้ให้เห็นว่ารัฐบอลติกตั้งแต่แรกเริ่มเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย และสหภาพโซเวียตมาก่อน
     เมื่อนีกีตา เซียร์เกเยวิช ครุชชอฟ (Nikita Sergeyevich Khrushchevค.ศ. ๑๘๙๔-๑๙๗๑) เริ่มนโยบายการล้มล้างอิทธิพลสตาลิน (De-Stalinization)เพื่อทำลายแนวความคิดลัทธิการบูชาบุคคล (Cult of Personality) และกลุ่มนิยมสตาลินทั้งในสหภาพโซเวียตและประเทศรัฐบริวาร ครุชชอฟได้ผ่อนปรนความเข้มงวดทางสังคมและให้ประชาชนลัตเวีย มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้นปัญญาชนและประชาชน ๓๐,๐๐๐ คนที่ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายกักกันแรงงานจึงกลับมามีบทบาททางสังคมในการเคลื่อนไหวสร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรม วิิลสครูมินส์ (Vilis Krumins) ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย ที่ขึ้นมามีอำนาจแทนคอมมิวนิสต์นิยมสตาลินที่ถูกปลดออกสนับสนุนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมชาติและการใช้ภาษาลัตเวีย ในหน่วยงานพรรคทุกระดับ รวมทั้งให้เพิ่มการสอนภาษาและวรรณคดีลัตเวีย ในสถาบันอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม แนวทางคอมมิวนิสต์ชาตินิยมในลัตเวีย ก็ดำรงอยู่ในช่วงเวลาอันสั้นเพราะการสิ้นสุดอำนาจของครุชชอฟทำให้เลโอนิดอิลยิช เบรจเนฟ (Leonid Ilyich Brezhnev ค.ศ. ๑๙๐๖-๑๙๘๒) ผู้นำคนใหม่ของสหภาพโซเวียตยกเลิกนโยบายการผ่อนคลายทางสังคมและการเมืองเบรจเนฟปลดคอมมิวนิสต์ชาตินิยมกว่า ๒,๐๐๐ คนออกจากอำนาจและแต่งตั้งคอมมิวนิสต์หัวอนุรักษ์ที่สนับสนุนโซเวียตให้ดำรงตำแหน่งแทน และดำเนินนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียตอย่างเข้มงวดอีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันโซเวียตก็เร่งพัฒนาลัตเวีย ให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๖๑-๑๙๘๙แรงงานชาวโซเวียต ๑,๔๖๖,๗๐๐ คน เข้ามาทำงานในลัตเวีย และกว่า ๓๓๐,๐๐๐ คนตั้งรกรากอย่างถาวร ชาวลัตเวีย ต่อต้านแรงงานต่างชาติเหล่านี้มากและกลายเป็นปัญหาขัดแย้งทางสังคม ขณะเดียวกันชาวลัตเวีย ก็ต่อต้านสถาบันปกครองโซเวียตอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่งด้วยการเคลื่อนไหวใต้ดินและทำสงครามจรยุทธ์ในเขตชนบทเหมือนช่วงทศวรรษ ๑๙๔๐ ถึงต้นทศวรรษ ๑๙๕๐
     ในทศวรรษ ๑๙๗๐ ลัตเวีย เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและทันสมัยทั้งนับเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหภาพโซเวียต ปัญหาทางสังคมที่ลัตเวีย ประสบคือการอพยพของชาวชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นรวมทั้งจำนวนแรงงานรัสเซีย ที่เพิ่มมากขึ้นจนชาวลัตเวีย เริ่มกลายเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศของตนเอง ปัญหาอาชญากรรม การหย่าร้าง และการทำแท้ง รวมถึงการฆ่าตัวตายตลอดจนการติดสุรากลายเป็นปัญหาหลักทางสังคม ปัญญาชนจึงพยายามรวมตัวกันเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านความทันสมัยที่กำลังคุกคามสังคมและนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียต มีการรณรงค์ฟื้นฟูงานศิลปะพื้นบ้าน ขนบประเพณีท้องถิ่นให้เป็นที่สนใจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ในค.ศ. ๑๙๗๑ เอดูอาดส์ เบียร์คลัฟส์ (Eduards Berklavs) ผู้นำคนสำคัญของกลุ่มปัญญาชนได้ทำจดหมายเปิดผนึกที่ชื่อว่า “สารของคอมมิวนิสต์ ๑๗ คน”(Letter ofthe Seventeen Communists) ถึงพรรคคอมมิวนิสต์ยุโรปต่าง ๆ โจมตีนโยบายการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นแบบโซเวียต และการยึดครองลัตเวีย ของสหภาพโซเวียตที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มนอกรีต (dissidents)ในประเทศยุโรปตะวันออกที่ต่อต้านโซเวียต การเคลื่อนไหวของปัญญาชนกลุ่มนี้ก็ประสบความสำเร็จไม่มากนักเพราะประชาชนส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้จักพวกเขาและการที่รัฐบาลควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวดก็ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มไม่เป็นที่รับรู้กัน
     ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ เมื่อประธานาธิบดีมีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (MikhailSergeyevich Gorbachev ค.ศ. ๑๙๓๑- ) เข้าดำรงตำแหน่งผู้นำคนใหม่ของสหภาพโซเวียตต่อจากคอนสตันติน อุสตีโนวิช เชียร์เนนโค (Konstantin UstinovichChernenko ค.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๘๕) กอร์บาชอฟได้เสนอนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา (Glasnost-Perestroika) หรือนโยบายเปิด-ปรับ เพื่อปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยและเน้นความร่วมมือกับนานาประเทศ การปฏิรูปทางการเมืองและสังคมในสหภาพโซเวียตดังกล่าวเปิดโอกาสให้ปัญญาชนลัตเวีย ใช้เงื่อนไขของนโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกาเคลื่อนไหวเรียกร้องอำนาจอธิปไตยภายในประเทศด้วย การเคลื่อนไหวของปัญญาชนเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๘๖ เพื่อต่อต้านโครงการสร้างเขื่อนและโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำของโซเวียตบริเวณแม่น้ำเดากาวา ปัญญาชนได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสโมสรพิทักษ์ิส่งแวดล้อม (Environment Protection Club) ขึ้นซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นพรรคกรีนลัตเวีย (Latvian Green Party) รณรงค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและต่อต้านโครงการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นตลอดจนต่อต้านแรงงานโซเวียตที่จะเข้ามาในประเทศมากขึ้น การเคลื่อนไหวประสบความสำเร็จโดยสหภาพโซเวียตยอมล้มเลิกโครงการและนับเป็นชัยชนะครั้งแรกของพลังมวลชนต่ออำนาจรัฐ ความสำเร็จของการเคลื่อนไหวครั้งนี้ผลักดันให้กรรมกรเมืองท่าเลียปายาทางภาคตะวันตกของประเทศจัดตั้งกลุ่ม “เฮลซิงกิ-๘๖”(Helsinki-86) ขึ้นในกลาง ค.ศ. ๑๙๘๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการเอารัดเอาเปรียบของแรงงานโซเวียต และติดตามเฝ้ามองด้านการคุกคามทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม กลุ่มดังกล่าวยังประสานการเคลื่อนไหวดำเนินงานกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในเอสโตเนีย และลิทัวเนีย ตำรวจลับพยายามคุกคามและกวาดล้างกลุ่มดังกล่าวทั้งเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวด การข่มขู่คุกคามดังกล่าวทำให้กลุ่มเฮลซิงกิร่วมกับกลุ่มปัญญาชนอื่น ๆเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ค.ศ ๑๙๘๗ ซึ่งตรงกับวันที่สหภาพโซเวียตเนรเทศพลเมืองลัตเวีย ในวันดังกล่าวมีประชาชนกว่า ๕,๐๐๐ คนมาร่วมชุมนุมและนับเป็นการแสดงออกทางการเมืองครั้งแรกในลัตเวีย ในเดือนสิงหาคมต่อมาซึ่งเป็นวาระครบรอบ ๔๕ ปีของการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานต่อกันระหว่างนาซี-โซเวียต มีการเดินขบวนต่อต้านโซเวียตและเรียกร้องอำนาจอธิปไตยของลัตเวีย
     ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๘๘ ปัญญาชนกลุ่มต่าง ๆ จัดประชุมขึ้นที่กรุงริกาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองรวมทั้งให้ชำระประวัติศาสตร์ของประเทศที่ถูกครอบงำจากสหภาพโซเวียตเพื่อสร้างความถูกต้องในประวัติศาสตร์ ระหว่างการประชุมมาฟริค วุลฟ์ซอน (MavrikVulfson) นักหนังสือพิมพ์และนักวิเคราะห์การเมืองที่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ได้เปิดประเด็นท้าทายอำนาจการปกครองของโซเวียตโดยกล่าวว่าลัตเวีย ถูกสหภาพโซเวียตใช้กำลังเข้ายึดครองใน ค.ศ. ๑๙๔๐ ความเห็นดังกล่าวได้นำไปสู่การอภิปรายโต้แย้งและการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่ชอบธรรมในการปกครองทางกฎหมายของโซเวียตและต่อต้านชาวโซเวียตลัตเวีย มีการจัดตั้งขบวนการเอกราชชาติลัตเวีย (Latvian National Independent Movement - LNNK) ขึ้นซึ่งนับเป็นขบวนการมวลชนระดับชาติครั้งแรกทึ่เคลื่อนไหวเพื่อเอกราช ต่อมาในเดือนตุลาคม มีการจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมลัตเวีย (Latvian Popular Front - LTF) ขึ้นและในเวลาอันสั้นก็มีสมาชิกกว่า ๒๕๐,๐๐๐ คนซึ่งนับเป็นกลุ่มประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขบวนการเอกราชชาติลัตเวีย และกลุ่มแนวร่วมลัตเวีย ต่างผนึกกำลังกันกดดันสหภาพโซเวียตเพื่อเอกราช และรณรงค์ให้ใช้ภาษาลัตเวีย เป็นภาษาราชการ รวมทั้งให้นำธงชาติก่อน ค.ศ. ๑๙๔๐ มาเป็นธงประจำชาติการเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย แตกแยกเป็น ๒ กลุ่มคือกลุ่มที่สนับสนุนโซเวียตซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่กับกลุ่มที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนซึ่งต่อมาถูกขับออกจากพรรค สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ที่ถูกขับจึงเข้าร่วมสนับสนุนกลุ่มแนวร่วมลัตเวีย กลุ่มแนวร่วมลัตเวีย ซึ่งมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้นยังหันมารณรงค์ให้ชนชาติกลุ่มน้อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพวกเบโลรัสเซีย ยูเครน โปลยิปซียิวและอื่น ๆ เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชด้วย
     ในการเลือกตั้งผู้แทนสภาทั่วไปในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ ผู้แทนของกลุ่มแนวร่วมลัตเวีย ได้รับเลือกเข้าสู่สภาเป็นจำนวนมากและทำให้การผูกขาดอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ในสภาถูกทำลายลง ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๘๙รัฐสภาลัตเวีย ประกาศแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้กฎหมายของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย อยู่เหนือกฎหมายของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ขณะเดียวกัน ก็เตรียมการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภาโซเวียตลัตเวีย สูงสุดด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการประชาชน (Citizens Committee) ขึ้น คณะกรรมาธิการดังกล่าวเรียกร้องให้ชาวลัตเวีย ที่อาศัยในประเทศก่อนถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองในค.ศ. ๑๙๔๐ มาลงทะเบียนเพื่อแสดงประชามติว่าต้องการสนับสนุนการแยกตัวหรือไม่ ผู้ที่มาลงทะเบียนเกือบ ๙๐๐,๐๐๐ คนสนับสนุนการเรียกร้องเอกราชและทำให้การแยกตัวออกมีความชอบธรรมมากขึ้น นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๘๙ซึ่งเป็นวาระครบรอบ ๕๐ ปีของกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียตที่นำไปสู่การยึดครองรัฐบอลติกของสหภาพโซเวียต กลุ่มแนวร่วมประชาชนของทั้ง ๓ รัฐบอลติกได้รวมพลังประชาชนจาก ๓ สาธารณรัฐจับมือกันเป็นลูกโซ่ยาว ๗๐๐ กิโลเมตรตั้งแต่กรุงทาลลินน์ (Tallinn) เมืองหลวงของเอสโตเนีย ผ่านกรุงริกาจนถึงกรุงวิลนีอุส(Vilnius) เมืองหลวงของลิทัวเนีย การต่อต้านอย่างสันติที่เรียกว่า “สายโซ่บอลติก”(Baltic Chain) ซึ่งประชาชนของสามรัฐบอลติกเข้าร่วมกว่า ๑.๕ ล้านคนได้รับความสนใจจากนานาชาติและเป็นการเรียกร้องเอกราชอย่างสันติที่มีพลังทั้งสร้างสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างรัฐบอลติกทั้ง ๓ ประเทศ
     ต่อมา ในการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภาโซเวียตลัตเวีย สูงสุดในเดือนมีนาคมค.ศ. ๑๙๙๐ ผู้แทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยลัตเวีย ได้รับเลือกถึง ๑๓๔ ที่นั่งจากจำนวน ๒๐๐ ที่นั่ง ชัยชนะทางการเมืองดังกล่าวได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตโดยวิถีทางรัฐสภา รัฐสภาโซเวียตลัตเวีย สูงสุดได้ยึดแนวทางการแยกตัวเป็นเอกราชของเอสโตเนีย เป็นแบบอย่างโดยออก “คำประกาศว่าด้วยเอกราชใหม่ของสาธารณรัฐลัตเวีย ”(Declaration about the Renewal of theIndependence of the Republic of Latvia) ซึ่งกำหนดว่าจะมีช่วงเวลาดำเนินการระยะหนึ่งเพื่อปรับระบอบการปกครองไปสู่ความเป็นเอกราชที่เรียกว่า “สมัยการเปลี่ยนผ่าน”ในสมัยการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวมีรัฐบาลคู่ คือ รัฐบาลลัตเวีย กับรัฐบาลโซเวียต รัฐบาลลัตเวีย จะพยายามปรับระบบการเงินและการค้า การป้องกันความมั่นคงภายใน การต่างประเทศและอื่น ๆ ให้มั่นคงก่อนจะประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ
     อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตและพรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย หัวอนุรักษ์รวมทั้งกองทัพต่อต้านการดำเนินการดังกล่าว และในต้น ค.ศ. ๑๙๙๑ได้ใช้กำลังเข้ายึดครองอาคารสำนักพิมพ์และประชาสัมพันธ์รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ขณะเดียวกันพรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย เอสโตเนีย และลิทัวเนีย ก็เคลื่อนไหวจัดตั้งคณะกรรมาธิการปลดปล่อยแห่งชาติ (National Salvation Committees)ขึ้นและเรียกร้องให้ยุบรัฐสภา ผู้นำกลุ่มแนวร่วมประชาชนลัตเวีย จึงเรียกร้องให้ประชาชนรวมพลังกันป้องกันอาคารสถานที่ราชการอื่น ๆ ที่จะถูกโจมตีและถูกยึดครองและให้ชุมนุมต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ลัตเวีย และกองทัพโดยสันติิวีธ มีการปะทะกันขึ้นและนานาชาติก็เคลื่อนไหวโจมตีการใช้กำลังของสหภาพโซเวียต กระแสการกดดันทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ยอมยุติการปราบปราม ในต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ รัฐบาลลัตเวีย ให้มีการลงประชามติแยกตัวผลปรากฏว่าร้อยละ ๗๓.๖๘ สนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต
     ประธานาธิบดีกอร์บาชอฟพยายามแก้ไขปั ญหาเรื่องการแยกตัวของสาธารณรัฐใต้การปกครองด้วยการเสนอร่างสนธิสัญญาใหม่แห่งสหภาพ (NewTreaty of Union) ด้วยการยอมให้รัฐบาลสาธารณรัฐโซเวียตต่าง ๆ มีอำนาจอธิปไตยในการดำเนินนโยบายภายในอย่างอิสระและให้มีสถานทู ตของตนเองในต่างประเทศ แต่นโยบายสำคัญ ๆ เช่น การป้องกันประเทศ การจัดทำงบประมาณและการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะรับผิดชอบร่วมกัน สนธิสัญญาใหม่แห่งสหภาพกำหนดให้ทุกสาธารณรัฐโซเวียตลงนามรับรองในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑แต่ในเดือนมีนาคมปี เดียวกัน ลัตเวีย และอีก ๒ รัฐบอลติกรวมทั้งสาธารณรัฐอาร์เมเนียจอร์เจีย และมอลเดเวีย (Moldavia) ก็ประกาศปฏิเสธที่จะลงนามรับรอง
     ต่อมา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ กองทัพและกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวอนุรักษ์ในโซเวียตซึ่งไม่พอใจนโยบายการปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และต่อต้านร่างสนธิสัญญาใหม่แห่งสหภาพได้รวมตัวกันก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจากกอร์บาชอฟในขณะที่อยู่ระหว่างการพักผ่อนที่ไครเมีย แต่รัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่๑๙ สิงหาคมและดำเนินต่อไปเป็นเวลาเกือบ ๑ สัปดาห์ประสบความล้มเหลว เพราะประชาชนซึ่งมีบอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) เป็นผู้นำรวมพลังกันต่อต้านจนได้รับชัยชนะ ในช่วงที่เกิดรัฐประหารในกรุงมอสโก ลัตเวีย เห็นเป็นโอกาสประกาศการสิ้นสุดของช่วงสมัยการเปลี่ยนผ่านเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ และถือว่าได้เอกราชอย่างสมบูรณ์โดยพฤตินัย สภาลัตเวีย สูงสุดประกาศให้นำรัฐธรรมนูญฉบับค.ศ. ๑๙๒๒ กลับมาใช้และกำหนดการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งที่ ๕ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังได้เอกราชขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๓ โดยกำหนดเขตเลือกตั้งเป็น ๕ ภูมิภาค คือริกา วิดเซเม เซมกาเล คูร์เซเม และลัตเกเล ขณะเดียวกันสภาลัตเวีย สูงสุดได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตถอนหน่วยทหารเกือบ ๖๐๐ หน่วย รวมทั้งทหารกว่า ๕๑,๐๐๐ คนออกจากประเทศ แต่รัฐบาลโซเวียตพยายามหน่วงเหนี่ยวเวลาโดยประกาศจะเริ่มถอนกำลังในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. ๑๙๙๒ และดำเนินการให้แล้วเสร็จใน ค.ศ. ๑๙๙๔ กองทหารโซเวียตชุดสุดท้ายได้ถอนกำลังออกจากลัตเวีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. ๑๙๙๔ แต่ลัตเวีย ก็ยอมให้สหพันธรัฐรัสเซีย ยังคงเช่าครองสถานีเรดาร์ที่เมืองสครุนดา (Skrunda) ไว้จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๙สหรัฐอเมริกาประกาศรับรองความเป็นเอกราชของลัตเวีย เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ค.ศ.๑๙๙๑ และอีก ๓ วันต่อมาก็สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเต็มรูปแบบกับสาธารณรัฐลัตเวีย ในปี เดียวกันสหภาพโซเวียตและประเทศตะวันตกอื่น ๆ ก็เริ่มทยอยรับรองเอกราชของลัตเวีย ด้วย ในวันที่ ๑๗ กันยายน ลัตเวีย ก็เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ(United Nations)
     หลังการประกาศเอกราช ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๑ สภาสูงสุดแห่งสาธารณรัฐลัตเวีย (Supreme Council of the Republic of Latvia) ก็คืนสิทธิความเป็นพลเมืองให้แก่ประชากรเชื้อสายลัตเวีย ซึ่งเคยเป็นพลเมืองของสาธารณรัฐลัตเวีย ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ รวมทั้งให้สิทธิพลเมืองแก่พวกลูกหลานด้วย การคืนสิทธิดังกล่าวทำให้จำนวนประชากรลัตเวีย เพิ่มมากขึ้น และมีเพียงร้อยละ ๒๕ ของประชากรเท่านั้นที่ถือว่าไม่ใช่พลเมืองลัตเวีย ใน ค.ศ. ๑๙๙๔ มีการออกกฎหมายกำหนดหลักการของประชากรสัญชาติือ่น ๆ ที่ต้องการเป็นพลเมืองลัตเวีย โดยต้องมีคุณสมบัติพื้นฐานคือ สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นภาษาลัตเวีย มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และต้องพำนักอาศัยในประเทศไม่น้อยกว่า ๕ ปีทั้งต้องให้คำปฏิญาณจะจงรักภักดีต่อประเทศ ส่วนชาวลัตเวีย ที่เกิดนอกประเทศก็จะได้สิทธิความเป็นพลเมืองใน ค.ศ. ๒๐๐๕ ปรากฏว่าประชากรที่ไม่มีเชื้อสายลัตเวีย ซึ่งขึ้นทะเบียนขอสิทธิจำนวน ๖๙๐,๔๖๑ คนใน ค.ศ. ๑๙๙๔ ขอเป็นพลเมืองรวม ๖๗๐,๒๐๑ คนและระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๕-๑๙๙๘ ชาวรัสเซีย อพยพกว่า ๒๐๐,๐๐๐คน ก็ขอสิทธิเข้าเป็นพลเมืองของประเทศ ทำให้ปัญหาการมีพลเมืองเชื้อสายลัตเวีย จำนวนน้อยซึ่งมีมาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๐ สิ้นสุดลงนับว่าลัตเวีย สามารถแก้ปัญหาเรื่องประชากรของประเทศได้สำเร็จ
     หลัง ค.ศ. ๑๙๙๑ เป็นต้นมา ลัตเวีย กำหนดแนวนโยบายต่างประเทศด้วยการมุ่งธำรงรักษาความเป็นอธิปไตยไว้เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียเอกราชอีกต่อไป และเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือและความมั่นคงร่วมกันกับประเทศลิทัวเนีย เอสโตเนีย กลุ่มประเทศนอร์ดิก โปแลนด์ และเยอรมนี ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ ทั้ง ๓ ประเทศบอลติกประกาศยกเลิกข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกันและให้พลเมืองใช้หนังสือประทับตราเดินทางร่วมกัน ในปี เดียวกันเดนมาร์ก เยอรมนี และ ๓ รัฐบอลติกก็ร่วมมือกันจัดตั้งสภาแห่งรัฐทะเลบอลติก (Council of the Baltic Sea States - CBSS) ขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกน (Copenhagen) สมาชิกประกอบด้วยเดนมาร์ก สวีเดน ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย โปแลนด์ เยอรมนี และสหพันธรัฐรัสเซีย วัตถุประสงค์สำคัญคือการร่วมมือกันปกป้องสิ่งแวดล้อมและแลกเปลี่ยนข้อมู ลข่าวสารระหว่างภูมิภาคเพื่อความมั่นคงร่วมกัน สภาแห่งรัฐทะเลบอลติกเป็นองค์การระหว่างประเทศองค์การแรกที่ลัตเวีย มีความเสมอภาคเท่าเทียมประเทศต่าง ๆและใน ค.ศ. ๑๙๙๗ ผู้แทนลัตเวีย ได้รับเลือกเป็นประธานสภาฯ ใน ค.ศ. ๑๙๙๓ทั้ง ๓ รัฐบอลติกร่วมกันจัดตั้งหน่วยรักษาสันติภาพ (Peace-keeping Units) ขึ้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ และความสำเร็จของการดำเนินงานได้นำไปสู่การจัดตั้งกองทัพบอลติก (Baltic Battalion) หรือที่เรียกว่า บอลต์แบต(BALTBAT) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๙๔ โดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษให้การสนับสนุนกองทัพบอลติกเป็นองค์การร่วมมือทางทหารเพื่อเสริมสร้างการป้องกันร่วมกันและเพื่อพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งเพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization - NATO) ซึ่งลัตเวีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใน ค.ศ. ๒๐๐๓ ในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๙๘ สหรัฐอเมริกาลงนามร่วมกับ ๓ รัฐบอลติกสนับสนุนให้ทั้ง ๓ ประเทศเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
     ตั้งแต่กลางทศวรรษ ๑๙๙๐ เป็นต้นมา ลัตเวีย ซึ่งปกครองด้วยรัฐบาลผสมมาโดยตลอดเริ่มมีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคงขึ้นพรรคการเมืองที่เคยมีมากกว่า๓๔พรรคเหลือไม่ถึง ๑๐พรรค ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ไวรา วิค-เฟรย์เบียร์กา (VairaVike-Freiberga) แห่งพรรคแนวทางลัตเวีย (Latvian Way Party) ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอดีตประเทศรัฐบริวารโซเวียตที่ได้ปกครองประเทศ และเป็น ๑ ในจำนวน ๔ คนของผู้หญิงยุโรปที่ได้เป็นผู้นำประเทศ วิค-เฟรย์เบียร์กาสานต่อนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาด้วยการพยายามผลักดันลัตเวีย ให้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(European Union) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะลัตเวีย ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปใน ค.ศ. ๒๐๐๕ นอกจากนี้ ลัตเวีย ซึ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้สำเร็จตามคำชี้แนะของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (InternationalMonetary Fund - IMF)ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้สินของประเทศและดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปรวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นประเทศแรกใน ๓ รัฐบอลติกที่ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WorldTrade Organization - WTO) ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๙-๒๐๐๑ ลัตเวีย ยังพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งบริเวณพรมแดนกับเอสโตเนีย และลิทัวเนีย และสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of IndependentStates) ให้มากขึ้น แต่ประเทศที่ลัตเวีย มีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้าที่ใกล้ชิดมากกว่าประเทศอื่น ๆ คือ สวีเดน และเดนมาร์ก .
     

ชื่อทางการ
ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Liechtenstein)
เมืองหลวง
ฟาดุซ (Vaduz)
เมืองสำคัญ
ชาน (Schaan) บัลแซร์ส (Balzers) และทรีเซิน (Triesen)
ระบอบการปกครอง
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ประมุขของประเทศ
เจ้าชาย
เนื้อที่
๑๖๐ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตอนกลาง บริเวณเทือกเขาแอลปส์ระหว่าง ประเทศออสเตรียกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บนฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำไรน์
จำนวนประชากร
๓๔,๒๔๗ คน (ค.ศ. ๒๐๐๗)
เชื้อชาติของประชากร
อะลามานนี(Alemannic) ร้อยละ ๘๖ และอื่น ๆ ร้อยละ ๑๔
ภาษา
ยอรมัน
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ ๗๖.๒ คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ร้อยละ ๗ อื่น ๆ ร้อยละ ๖.๒ และไม่ระบุร้อยละ ๑๐.๖
เงินตรา
ฟรังก์สวิส (Swiss franc)
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
อนันต์ชัย เลาหะพันธุ
แหล่งอ้างอิง
สารานุกรมทวีปยุโรป